Tuesday, October 25, 2011

การช่วยเหลือผู้ป่วยถูกไฟดูด Electric Shock

การช่วยเหลือผู้ป่วยถูกไฟดูด Electric Shock
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากไฟฟ้า - การไฟฟ้านครหลวง
www.mea.or.th/apd/7/7.htm
ผู้ที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้าต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือดังนี้. 1. ... ให้ผู้ป่วยนอนราบ จัดท่าที่เหมาะสมเพื่อเปิดทางอากาศเข้าสู่ปอด ... การช่วยเหลือผู้ป่วยถูกไฟดูด Electric Shock

ปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟดูด | Facebook
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.288629081166572.94054.178690235493791&type=3
การช่วยเหลือเบื้องต้น : ควรแยกผู้ประสบเหตุออกจากวงจรไฟฟ้า โดย 1. ... การปฐมพยาบาลต้องทำทันทีที่ช่วยผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดออกมาและควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ... การช่วยเหลือผู้ป่วยถูกไฟดูด Electric Shock



ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าและการปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด
http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=434045&Ntype=120
หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดให้ตัดจ่ายกระแสไฟฟ้าก่อน เช่น ปลดคัทเอาท์. .... ครั้ง นวดหัวใจ 5 ครั้ง. การปฐมพยาบาลต้องทำทันทีที่ช่วยเหลือผู้ป่วยออกมา และควรนำส่งโรงพยาบาล ... การช่วยเหลือผู้ป่วยถูกไฟดูด Electric Shock

วิธีการปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด ช๊อตเบื้องต้น - Thai Safety Product
www.thaisafetyproduct.com/news/NewsDetail.aspx?id=11
วิธีการปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด ช๊อตเบื้องต้น. 1. ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน ... การช่วยเหลือผู้ป่วยถูกไฟดูด Electric Shock

การช่วยเหลือผู้ป่วยถูกไฟดูด Electric Shock
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=274082

Wednesday, October 19, 2011

น้ำท่วมโรงพยาบาลอยุธยา Ayutthaya Hospital

น้ำท่วมโรงพยาบาลอยุธยา Ayutthaya Hospital
สธ.ขนย้ายผู้ป่วยออกจาก รพ.อยุธยา กว่า 200 ราย มารักษาต่อที่ รพ.ใน กทม.พร้อมปล่อยคาราวานพารามอเตอร์บินสำรวจชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลที่เพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภารกิจหลักในวันนี้ ได้ขนย้ายผู้ป่วยกว่า 200 ราย ออกจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา หลังน้ำทะลักท่วมโรงพยาบาล โดยใช้รถจีเอ็มซีของทหาร 10 คัน จะเริ่มทยอยย้ายตั้งแต่เวลา 09.30 น.เป็นต้นไป โดยจะใช้ถนนหมายเลข 347 ไปที่จุดแยกวรเชษฐ์ และจะมีรถพยาบาลฉุกเฉินประมาณ 10 คัน จากโรงพยาบาลต่างๆ พร้อมพยาบาล เครื่องมือแพทย์ มารับผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลตามแผนที่วางไว้ ส่วนผู้ป่วยหนักที่ใช้เครื่องช่วยหายใจให้ส่งต่อเข้ากทม.ซึ่งเหลือประมาณ 20 ราย ได้ใช้วิธีลำเลียงทางเฮลิคอปเตอร์ โดยเมื่อคืนนี้ส่งไปแล้ว 8 ราย ไปที่ รพ.ใน กทม.6 แห่ง ได้แก่ ตำรวจ 2 ราย รพ.ภูมิพล 1 ราย รพ.นพรัตนราชธานี 1 ราย รพ.สงฆ์ 2 ราย สถาบันโรคทรวงอก 1 ราย และสถาบันประสาทวิทยา 1 ราย

ภารกิจที่ 2 คือ การปล่อยขบวนคาราวานพารามอเตอร์ 5 ลำ จากชมรมพารามอเตอร์จังหวัดนครราชสีมา บินขึ้นสำรวจในพื้นที่ห่างไกลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี อ่างทอง เพื่อจัดทำจุดการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามบ้านเรือนที่อยู่ห่างไกล และยังออกไปไหนไม่ได้ โดยจะทำการบินระยะต่ำกว่าเครื่องบิน หลังจากได้เป้าหมายแล้ว จะรายงานให้พันเอกพิเศษ ประเสริฐ บัวเขียว ที่ปรึกษารัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสั่งการช่วยเหลือต่อไป



สำหรับประชาชนที่เจ็บป่วย สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาลสนาม ซึ่งตั้งจุดตรวจรักษาที่จุดอพยพตรงข้ามศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริการตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับสถานการณ์ผู้เจ็บป่วยจากน้ำท่วม ยอดสะสมจนถึงวันนี้ มีทั้งหมด 513,860 ราย ไม่มีการระบาดของโรค ส่วนด้านสุขภาพจิต ผลการตรวจคัดกรอง พบผู้มีความเครียดสูง 3,104 ราย ซึมเศร้า 4,435 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 574 ราย และต้องติดตามดูเป็นพิเศษอย่างใกล้ชิด 863 ราย อย่างไรก็ตาม ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งยาสามัญประจำบ้านให้พื้นที่ ประสบภัยอีกกว่า60,000 ชุด โดยส่งจังหวัดสุโขทัย 12,000 ชุด ลพบุรี 10,000 ชุด นครสวรรค์ 10,000 ชุด ปราจีนบุรี 6,000 ชุด สระบุรี 5,000 ชุด มหาสารคาม 10,000 ชุด พังงา 3,000 ชุด และหน่วยงานอื่นอีก 10,000 ชุด

ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=2428.0
http://www.posttoday.com/กทม.-ภูมิภาค/ภาคกลาง/115484/สลด-คนไข้ดับ10ระหว่างรอหนี

Saturday, October 15, 2011

โรคฉี่หนู Leptospirosis

โรคฉี่หนู Leptospirosis
โรคฉี่หนู Leptospirosis โรคฉี่หนูเป็นที่มักจะระบาดหน้ฝนโดยจะพบเชื้อโรคในปัสสาวะของหนูไม่เป็นธรรมสำหับหน ูเนื่องจากเชื้อนี้สามารถพบได้ใน สุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค

เชื้อที่เป็นสาเหตุ
ลักษณะของตัวเชื้อ
เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว spirochete เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แมาน้ำลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง

เกิดจากเชื้อ Leptospira interogans เป็นเชื้อแบคทีเรียมี 16 serogroup เชื้อที่เป็นสาเหตุในกรุงเทพ คือ bataviae และ javanica ส่วนในภูมิภาคเป็น akiyami,icterohemorrhagia มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง

การเกิดโรค
พบได้ทั่วโลกยกเว้นเขตขั้วโลกเนื่องจากมีสัตว์ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าปล่อยเชื้อนี้กับปัสสาวะ คนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสปัสสาวะหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อนี้

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
- เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
- คนงานฟาณืมเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
- กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
- กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
- กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา



แหล่งรังโรค
หมายถึงเป็นที่พักของเชื้อ สัตว์ที่เป็นแหล่งพักได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข แรคคูณสัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะตลอดชีวิตสัตว์ ทำให้มีการติดต่อของเชื้อในสัตว์

- จากการสำรวจหนูใน 27 จังหวัดเมื่อปี 2508 พบว่าทั้งหนูท่อ หนูบ้าน หนูนา เป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญโดยพบเชื้อร้อยละ 10-50 รองลงมาได้แก่สุนัข
- จากการสำรวจหนูนาพบว่าหนูพุกติดีเชื้อร้อยละ 40
- จากการสำรวจสัตว์ในกรุงเทพเมื่อปี 2508 พบว่าหนูท่อติดเชื้อ 66% สุนัขติดเชื้อ 8 % แสดงว่าหนูเป็นตัวแพร่เชื้อ
- การสำรวจเมื่อปี 2540 โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบภูมิคุ้มกันในความ31% โค 28.25% แพะแกะ 27.35% สุกร 2.15%

การติดต่อของโรค
สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข วัว ควาย สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะเชื้อจะอยู่ในน้ำหรือดิน

- เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา หรือแผล ผิวหนังปกติที่เปียกชื้นเชื้อก็สามารถไชผ่านไปได้เช่นกัน
- เชื้ออาจจะเข้าร่างกายโดยการดื่มหรือกินอาหารที่มีเชื้อ

ระยะฟักตัวของโรค
- โดยเฉลี่ยประมาณ 10 วันหรืออยู่ระหว่าง4-19 วัน

ระยะติดต่อ
- การติดต่อจากคนสู่คนเกิดได้น้อยมาก

อาการที่สำคัญ
อาการทางคลินิกของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง กลุ่มนี้อาการไม่รุนแรง หลังจากได้รับเชื้อ 10-26 วันโดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรคได้แก่ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการอาจจะมีตั้งแต่ 1-หลายวัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
- ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด Leptospiremic เมื่อเชื้อเข้าร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้คือ
- ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะทันที มักจะปวด บริเวณหน้าผาก หรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง
- ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลังและมีอาการกดเจ็บกล้ามเนื้อ
- ไข้สูง 28-40 องศา เยื่อบุตาแดง

อาการต่างๆอาจอยู่ได้ 4-7 วัน นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง

การตรวจร่างกายในระยะนี้ที่สำคัญจะตรวจพบ ผู้ป่วยตาแดง มีน้ำตาหรือขี้ตาไหล คอแดง มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายมีผื่นตามตัว

- ระยะร่างกายสร้างภูมิ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นใหม่ ปวดศีรษะ คอแข็งมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง และมีเชื้อออกมาในปัสสาว
- กลุ่มที่มีอาการเหลือง กลุ่มนี้ไข้จะไม่หายแต่จะเป็นมากขึ้นโดยพบมีอาการเหลือง และไตวาย มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตับและไตวาย ดีซ่าน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ อาจจะมีอาการไอเป็นเลือด อาการเหลืองจะเกิดวันที่ 4 ของโรค ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะนี้หรือในต้นสัปดาห์ที่สามจากไตวาย

อาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่
- ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
- กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
- มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
- ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
- อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

การวินิจฉัย
จากประวัติการสัมผัสโรค และตรวจร่างกายเมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะตรวจ
- CBC การตรวจเลือดทั่วไป จะพบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่ม บางรายเกร็ดเลือดต่ำ
- ESR เพิ่ม
- ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดง ไข่ขาวในปัสสาวะรวมทั้งพบน้ำดีbilirubin ในปัสสาวะ
- ตรวจการทำงานของตับ พบการอักเสบของตับโดยจะมีค่าSGOT,SGPT สูงขึ้น
- ในรายที่รุนแรงการทำงานของไตจะเสื่อม ค่าCreatinin,BUN จะเพิ่มขึ้น
- การเพาะเชื้อจากเลือดสามารถเพาะได้ในระยะแรกของโรค
- การตรวจทางภูมิคุ้มกัน สามารถตรวจพบหลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์

การรักษา
ผู้ที่มีอาการรุนแรง
- ควรให้ยาpenicillin,tetracyclin,streptomycin,erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค

ผู้ที่มีอาการปานกลางอาจจะเลือกยาดังนี้
- doxycycline 100 mgวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
- amoxicillin 500 mg วันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน

การรักษาตามอาการและภาวะแทรกซ้อน
- การให้ยาลดไข้
- การให้ยาแก้ปวด
- การให้ยากันชัก
- การให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
- การให้สารน้ำและเกลือแร่

การรักษาโรคแทรกซ้อน
- หากเกร็ดต่ำหรือเลือดออกง่ายก็อาจจะจำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดหรือน้ำเหลือง
- การแก้ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- การแก้ปัญหาตับวาย
- การแก้ปัญหาไตวาย

เอกสารอ้างอิง
คู่มือวิชาการ โรคเลปโตสไปโรซิส ISBN 974-7897-90-3
http://www.never-age.com/wb/viewtopic.php?f=4&t=994

Wednesday, October 12, 2011

โรคที่มากับน้ำท่วม โรคหลังน้ำท่วม Disease Flood

โรคที่มากับน้ำท่วม โรคหลังน้ำท่วม Disease Flood
1.โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อราและแผลพุพองเป็นหนอง
ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรคหรืออับชื้นจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดเป็นเวลานาน โดยจะมีอาการเท้าเปื่อย เป็นหนอง และเริ่มคันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย จากนั้นผิวหนังจะพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนคือผิวหนังอักเสบ ป้องกันได้ด้วยการเช็ดเท้าให้แห้ง หากมีบาดแผลควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ

2. โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ติดต่อได้ทุกเพศทุกวัย แพร่กระจายในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย อาการมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ไอจาม อ่อนเพลีย ป้องกันได้ด้วยใช้ผ้าปิดปากเวลาไอจาม ดื่มน้ำอุ่นมากๆ มีไข้สูงเกิน 7 วันควรพบแพทย์

3.โรคปอดบวมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด
เช่น น้ำสกปรกจนทำให้เกิดการอักเสบ อาการไข้สูง ไอมาก หอบหายใจเร็ว เห็นชายโครงบุ๋ม ริมผีปากซีดหรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม หากมีอาการควรรีบพบแพทย์ทันที

4.โรคตาแดง
ติดต่อได้ง่ายในเด็กเล็กแต่เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ อาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 – 2 วัน จะมีอาการระคายเคือง ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง ทั้งนี้ในหากดูแลถูกวิธีจะหายได้ใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ ทั้งนี้ป้องกันได้ด้วยล้างดวงตาให้สะอาดเมื่อถูกฝุ่นละออง หมั่นล้างมือบ่อยๆ ไม่ควรขยี้ตา

5.โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารค้างคืนหรือเน่าบูด แบ่งออกเป็นหลายโรค ได้แก่ โรคอุจาระร่วง อาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ อาจมีมูกเลือดและมีการอาเจียนร่วมด้วย อหิวาตกโรค จะถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าวทีละมากๆ อาการรุนแรง

อาหารเป็นพิษ มักมีอาการปวดท้องร่วมกับการถ่ายอุจาระเหลว คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการปวดศีรษะและเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย โรคบิด จะถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือดปน มีไข้ ปวดท้องและมีปวดเบ่งร่วมด้วย โรคไข้ทัยฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย มีอาการสำคัญคือมีไข้ เบื่ออาหาร ท้องผูก เมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ

ป้องกันได้โดยล้างมือให้สะอาด เลือกรับประทานอาหาร กำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน แต่หากป่วยจำเป็นต้องดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมากๆ รวมทั้งดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ด้วย

6.โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส
เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนในน้ำท่วมขัง โดยโรคนี้จะติดต่อทางบาดแผล รอยขีดข่วน หรือไชเข้าตามเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ อาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 4 – 10 วัน จะมีไข้สูงทันที ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และศีรษะมาก บางรายมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดินร่วมด้วย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ มิเช่นนั้นอาจถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันได้โดยสมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ ทำความสะอาดที่พักไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนู

7.โรคไข้เลือดออก
มียุงลายเป็นพาหะพบได้ทุกวัยในทุกพื้นที่ มีอาการไข้สูงตลอดทั้งวัน หน้าแดง เกิดจุดแดงๆ เล็กๆ ตามลำตัว ต่อมาไข้จะลดลง ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอาการรุนแรง มีความผิดปกติ เช่น ถ่ายดำ ไอปนเลือด เกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ ทั้งนี้การรักษาห้ามใช้ยาแอสไพริน และระวังไม่ให้ถูกยุงกัด

8.โรคหัด
เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในฤดูฝน หากมีการแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตได้ สำหรับการติดต่อผ่านทางการไอจาม เชื้อกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อาการหลังจากได้รับเชื้อ 8 – 12 วัน มีไข้ ตาแดง พบจุดขาวๆ เล็กๆ ในกระพุ้งแก้ม ป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย

9.โรคไข้มาลาเรีย
ติดต่อโดยยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำเชื้อโรค มักพบในพื้นที่ป่าเขามีแหล่งน้ำจืดธรรมชาติ อาการหลังรับเชื้อ 7 – 10 วัน จะปวดศีรษะ โดยทั่วไปคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากนั้นจะหนาวสั่นและไข้สูงตลอดเวลา อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงยุงด้วยการทายาหรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด

โรคที่มากับน้ำท่วม โรคหลังน้ำท่วม Disease Flood
http://www.posttoday.com
http://www.klanghospital.go.th/index.php/9.html
http://comvariety.com/health-news/5572-เตรียมรับมือกับ-9-โรคที่มากับน้ำ

Monday, October 10, 2011

โรคหอบหืด Asthma

โรคหอบหืด Asthma
หอบหืด-Asthma/ภูมิแพ้
www.thailabonline.com/respirat-asthma.htm
หวัดภูมิแพ้ หวัดแพ้อากาศ โรคแพ้อากาศ / Allergic Rhinitis Hay fever หอบหืด. Asthma แนวทางการรักษาโรค หอบหืด สำหรับผู้ใหญ่ แนวทางการรักษาโรค หอบหืด สำหรับเด็ก ... โรคหอบหืด Asthma

โรคหอบหืด (ASTHMA)
www.baanmaha.com/community/thread32135.html
โรคหอบหืด (ASTHMA) คือโรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากความไวผิดปกติของหลอดลม ต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้ท่อทางหายใจเกิดการตีบแคบ ... โรคหอบหืด Asthma


อาการ ของโรคจะรุนแรงหรือไม่ แล้ว แต่ว่าหลอดลมตีบตันมากหรือน้อย กล้ามเนื้อบุหลอดลมอาจคลายตัวได้เอง แม้จะไม่ได้รับการรักษา แต่การรักษาที่ถูกวิธีจะช่วยทำให้อาการดีเ ร็วขึ้น และป้องันการเกิดอาการของโรคกำเริบ หรือแม้แต่ทำให้อาการของโรคค่อยๆดีขึ้น และหายเป็นปกติได้

โรคหอบหืด(Asthma) - สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ (Thai Herbs for Health)
thai-herbs-for-goodhealth.blogspot.com/2009/03/asthma.html
โรคหอบหืด (Asthma) คนที่เป็นโรคนี้จะทรมานมากเนื่องจากเวลาที่อาการหอบหืดกำเริบขึ้นมาจะมีอาการหายใจได้ไม่เต็มปอด ... โรคหอบหืด Asthma

โรคหืด ASTHMA
www.oocities.org/poompae/asthma.htm
ท่านรู้จัก "โรคหืด" ดีหรือยัง ? โรคหืด Asthma. ยารักษาโรคหืด ชนิดพ่นมีมากมายหลายชนิด. อุปกรณ์ตรวจวัดสมรรถณะ ของปอดชนิดพกพา, โรคหืด คือ อะไร ... โรคหอบหืด Asthma

โรคหอบหืด Asthma
http://www.tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=1479

Wednesday, October 5, 2011

โรคจิต จิตป่วย Psychosis

โรคจิต จิตป่วย Psychosis
โรคจิต สุขภาพจิต psychosis mental disorder mental illness สัญญาณ ...
haamor.com/knowledge/เกร็ดสุขภาพ/article/โรคจิต/
โรคจิต (Psychosis) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางด้านจิตใจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยไม่อยู่ในความเป็นจริง มีความหลงผิด หรือ ความเชื่อผิด (Delusion) เช่น เชื่อว่า ... โรคจิต จิตป่วย Psychosis

โรคจิตคืออะไร
โรคจิตเป็นคำที่ใช้กับโรคทางจิตเวชหลายโรคที่มีอาการหลงผิด (เช่น หวาดระแวงว่าคนอื่นจะมาทำร้าย เชื่อว่าตนเองมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์) และประสาทหลอน (เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน) เป็นอาการหลัก

โรคจิตที่มีการกล่าวถึงบ่อย คือ โรคจิตเภท เพราะโรคนี้นอกจากจะรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตในสังคมแล้วยังมีแนวโน้มที่จะป่วยแบบเรื้อรังด้วย

ในปัจจุบันเรามักแบ่งโรคจิตออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากโรคทางกายและไม่ได้เกิดจากการใช้สารใดๆ เช่น โรคจิตเภท และกลุ่มที่เกิดจากโรคทางกายหรือการใช้สารต่างๆ



โรคจิตเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในปัจจุบัน เรายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคจิตที่ไม่ได้เกิดจากโรคทางกายและการใช้สาร แต่ผลการศึกษาส่วนใหญ่สนับสนุนว่ากรรมพันธุ์มีส่วนอย่างมากในการทำให้ป่วยเป็นโรคจิตเภท

สำหรับโรคจิตที่เกิดจากโรคทางกายอาจเกิดจากโรคของสมองหรือโรคทางกายที่มีผลต่อสมอง ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านโครงสร้างหรือการทำงานของสมอง เช่น โรคลมชัก

ส่วนโรคจิตที่เกิดจากการใช้สาร อาจเกิดจากการใช้ยารักษาโรคหรือยาเสพติดบางชนิด ซึ่งทำให้สมองทำงานผิดปกติ หรือในกรณีที่ใช้สารที่เป็นพิษรุนแรงและต่อเนื่อง เช่น สารระเหย สมองบางส่วนอาจถูกทำลายอย่างถาวรได้

โรคจิต จิตป่วย Psychosis
http://www.jabchai.com/main/news_view.php?id=1825

โรคจิต - วิกิพีเดีย
th.wikipedia.org/wiki/โรคจิต
ระวังสับสนกับ โรคประสาท หรือ จิตพิการ ... โรคจิต (อังกฤษ: Psychosis) คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค (โรคทางจิตเวช ... และผู้ป่วยจะไม่กลับคืนปกติ ดังเช่นที่เห็นในผู้ป่วยบางรายที่ญาติคิดว่าผีเข้า ไม่พามารักษา ไปรักษาหมอผี ... โรคจิต จิตป่วย Psychosis
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...